1 โครินธ์ 8 เนื้อสัตว์ในวิหารเทพ

คำถามเรื่องเนื้อที่บูชารูปเคารพ

1 โครินธ์ 8:1-2 เรื่องอาหารที่ถูกนำไปบูชารูปเคารพ เรารู้อยู่ว่า ทุกคนต่างก็มีความรู้ และความรู้ทำให้เกิดอาการหยิ่งยโส แต่ความรักเสริมสร้างกัน คนใดถือว่าตนเองรู้สิ่งใด คนนั้นยังไม่ได้รู้ตามที่ควรจะรู้
1 โครินธ์ 8:3-4 แต่ถ้าคนใดรักพระเจ้า พระองค์ก็ทรงรู้จักคนนั้น
ดังนั้นเรื่องการกินอาหารที่ถูกนำไปบูชารูปเคารพแล้วนั้น เราเองรู้ว่า รูปเคารพเป็นสิ่งที่ไร้ความหมายในโลก เรารู้ว่ามีพระเจ้าเที่ยงแท้เพียงองค์เดียวเท่านั้น
1 โครินธ์ 8:5-6 บางคนอาจจะกล่าวว่า มีเทพมากมายในสวรรค์และในโลก นั่นก็จริง ดังนั้นแม้จะมีเทพ มีเจ้านายฝ่ายวิญญาณมาก
ก็ตาม แต่สำหรับเรา มีพระเจ้าองค์เดียวคือพระบิดา ทุกสิ่งเกิดมาจากพระองค์เรามีชีวิตอยู่ก็เพื่อพระองค์ และมีองค์พระเยซูคริสต์เจ้าเพียงองค์เดียว

หลักการของความรัก

1 โครินธ์ 8: 7 แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะรู้เรื่องนี้ บางคนเคยใช้ชีวิตกับรูปเคารพมาก่อนเมื่อกินอาหารที่ได้บูชารูปเคารพเขาก็ถือว่ามันได้บูชามาแล้วจริง ๆและความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของเขายังอ่อนอยู่ เขาจึงเป็นมลทิน
1 โครินธ์ 8:8-9 และอาหาร ไม่ได้นำให้เราใกล้ชิดพระเจ้า
เราจะกินหรือไม่ สิ่งนั้นไม่ได้ทำให้เราดีขึ้นหรือเลวลงแต่ขอให้ระวังว่า อิสรภาพของพวกท่านจะไม่กลายเป็นสิ่งที่ทำให้คนอ่อนแอ
ต้องสะดุด!

1 โครินธ์ 8:10-11 เพราะถ้าคนที่ความรู้สึกผิดชอบชั่วดียังอ่อนแออยู่ เห็นท่านผู้มีความรู้นั่งกินอาหารในวิหารที่มีรูปเคารพ จะไม่ทำให้เขารู้สึกอยากกินอาหารที่ได้บูชารูปเคารพแล้วหรือ ความรู้ที่ท่านมี อาจทำให้พี่น้องที่อ่อนแอพินาศไป ทั้ง ๆ ที่พระองค์ได้สิ้นพระชนม์เพื่อเขาแล้ว

1 โครินธ์ 8:12-13 เมื่อพวกท่านทำผิดต่อพี่น้อง และทำร้าย
ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของเขา เท่ากับท่านได้ทำบาปต่อพระคริสต์
ดังนั้นถ้าสิ่งที่ข้ากินทำให้พี่น้องต้องสะดุดข้าก็จะไม่กินเนื้อสัตว์อีกต่อไปเพื่อจะไม่ทำให้พี่น้องต้องสะดุด

คำอธิบายเพิ่มเติม

คำถามเรื่องเนื้อที่บูชารูปเคารพ
1 โครินธ์ 8:1-2

ในสมัยของท่านเปาโล คนที่ไหว้รูปเคารพจะมีพิธีกรรมการกิน ประกอบไปกับพิธีกรรมทางศาสนา เช่นการฆ่าสัตว์แล้วถวายเป็นเครื่องบูชา จากนั้น ก็กินเลี้ยงเนื้อสัตว์เหล่านั้นกันในวิหารที่ประกอบพิธี เนื้อที่เหลือก็เอาไปขายในตลาดทั่วไปนี่จึงเป็นเรื่องที่คริสเตียนขอถามท่านเปาโลว่า เนื้อประเภทนี้ กินได้หรือไม่เป็นมลทินหรือไม่ในเมื่อมันถูกฆ่าในวิหารเทพต่าง ๆ

1 โครินธ์ 8:3-4
สำหรับคนที่รู้จักพระเจ้าใกล้ชิด เรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหาใหญ่เลย เขารู้ว่า รูปเคารพไม่ใช่พระเจ้าเที่ยงแท้ รูปเคารพเป็นเพียงสิ่งที่คนไม่รู้จักพระเจ้า ตั้งให้เป็นพระตามใจพวกเขา เป็นพระแห่งสงคราม พระแห่งดินฟ้าอากาศ และพระใด ๆ ที่เขาต้องการสร้างขึ้นมาทำให้ตัวเองได้สบายใจ คนของพระเจ้ารู้ว่า รูปเคารพไม่มีอำนาจ ไม่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่บริสุทธิ์ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตอย่างที่คนอื่นคิดกัน

1 โครินธ์ 8:5-6

ท่านเปาโลไม่ได้ปฏิเสธโลกวิญญาณ ท่านรู้ว่าในโลกวิญญาณยังมีเทพ หรือ วิญญาณที่มีอำนาจอยู่จริง และพวกเขาก็เป็นผู้สนับสนุนความคิดที่ทำให้มนุษย์สร้างรูปเคารพขึ้นมาเพื่อแทนที่พระเจ้าเที่ยงแท้ จากข้อนี้เอง เราเห็นว่าโลกฝ่ายวิญญาณเป็นโลกที่เราต้องเรียนรู้อีก และเราก็จะเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นในฝ่ายโลกทางกายภาพของเรามากขึ้น ท่านบอกชัดว่า พระเจ้าทรงยิ่งใหญ่กว่าบุคคลในโลกฝ่ายวิญญาณต่าง ๆ เหล่านั้น

หลักการของความรัก
1 โครินธ์ 8: 7
พี่น้องที่เคยบูชากราบไหว้ถวายเครื่องบูชาเป็นเนื้อแก่เทพและเทพีมาก่อนนั้น เขาจะรู้สึกว่า ของบูชากลายเป็นกรรมสิทธิ์ของรูปเคารพนั้นแล้ว รู้สึกอย่างนั้นจริง ๆ แม้ว่าเขาจะมาเป็นคนของพระเจ้าแล้วก็ตาม รู้สึกว่า เขาไม่ควรแตะต้องสิ่งที่เป็นมลทินเช่นนี้ ที่ว่าความรู้สึกผิดชอบชั่วดียังอ่อนอยู่นั่นคือ เขายังไม่ผ่านความเข้าใจที่ว่า พระเจ้าทรงเป็นเจ้าของทุกอย่างและพระองค์ทรงชำระให้เขา. เมื่อเขากินด้วยการขอบพระคุณ

1 โครินธ์ 8:8-9
บทเรียนตรงนี้ไม่ใช่ว่ากินอะไรได้หรือไม่ได้แต่เป็นเรื่องของการระวังไ่ม่ให้ผู้ที่มีจิตสำนึกต่างไปนั้น จะไม่สะดุด นี่คือความรักและเอาใจใส่
ต่อใจของผู้อื่นสำคัญกว่ากฎเรื่องอาหารที่ไม่ได้ส่งผลให้คนเราดีขึ้นหรือเลวลง. พี่น้องชาวโครินธ์ และเราจะต้องระวังพฤติกรรมที่ทำให้คนอื่นที่ยังขาดความเข้าใจหลงผิดไป บางทีแค่คำพูดสั้น ๆ แต่ก็อาจทำให้พี่น้องเข้าใจผิดไปได้ท่านเปาโลสอนให้ระวังเรื่องนี้มาก ๆ

1 โครินธ์ 8:10-11
นี่เป็นภาพที่กระอักกระอ่วนมาก เพราะหากผู้เชื่อใหม่ เห็นผู้ที่บอกว่าตนเป็นคริสเตียนแล้วยังไปนั่งกินอาหารในวิหารเทพต่าง ๆ โดยที่ตัวเองคิด
ว่ารูปเคารพไม่มีความหมาย ไม่ใช่พระเจ้า ก็กินโดยไม่รู้สึกผิด ในขณะที่พี่น้องใหม่ซึ่งเข้าใจว่า การบูชาด้วยเนื้อ เป็นการกราบไหว้ นมัสการ ก็อาจจะ
เข้าใจผิดไปเลยว่า เป็นคริสเตียนแล้ว สามารถกราบไหว้บูชารูปเคารพได้ด้วย กลายเป็นความเชื่อที่ผิด ..และทำให้เขาหลงไปจากความรอด!!

1 โครินธ์ 8:12-13

การทำร้ายความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของพี่น้องด้วยกันเป็นเรื่องที่โหดร้ายมาก เพราะพวกเขาจะทั้งสะดุดทั้งถูกทำลายความเชื่อที่ถูกต้องที่จะนำไปสู่ชีวิต
นิรันดร์ กลายเป็นการสร้างคริสเตียนสายใหม่ที่มีความเชื่อประหลาดชีวิตมุ่งตรงไปสู่ความพินาศทั้ง ๆ ที่พระเยซูทรงสิ้นพระชนม์เพื่อเขาแล้วโลกใหม่ทุวันนี้ ไม่ได้ต่างจากโลกโครินธ์ เพราะมีคำสอนน่ากลัวที่เราต้องระมัดระวังทุกครั้งที่ฟังก่อนจะเชื่ออะไร อย่าหลงเชื่อใครง่าย ๆ

พระคำเชื่อมโยง

1* กิจการ 15:20; โรม 14:14;14:3
2* 1 โครินธ์ 13:8-12
4* อิสยาห์ 41:24; เฉลยธรรมบัญญัติ 4:35, 39; 6:4
5* ยอห์น 10:34
6* มาลาคี 2:10; กิจการ 17:28; ยอห์น 13:3; 1:3
โรม 5:11

7* 1 โครินธ์ 10:28: โรม 14:14,22
8* โรม 14:17
9* กาลาเทีย 5:13; โรม 14:13,21
10* 1 โครินธ์ 10:28
11* โรม 14:15,20
12* มัทธิว 25:40
13* โรม 14:21


กิจการ 16 แลกมาด้วยความยินดี

เปาโล สิลาส กับทิโมธีน้องใหม่

นิมิตเรื่องชาวมาซิโดเนีย

บาดแผลที่นำชีวิตใหม่

เปาโล สิลาส กับทิโมธีน้องใหม่
กิจการ 16:1-3
จำได้ไหมที่เมืองลิสตรา เปาโลเคยถูกหินขว้าง ถูกลากออกมาจากเมือง เปาโลไม่ได้กลัวว่าจะถูกขว้างอีกหรือไม่ และที่นั่นได้พบกับชายคนหนึ่งที่เป็นลูกครึ่งกรีกยิว และดูเหมือนว่าจะเป็นคนที่รับใช้พระเจ้าได้ แต่เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาโลกแตกของยิวในเรื่องสุหนัต ท่านจึงขอให้ทิโมธีเข้าสุหนัตเสีย เป็นการตัดไฟต้นลม
เพราะทิโมธีจะต้องเป็นผู้นำต่อไป จะได้ไม่มีเรื่องแบบนี้ทำให้คนสับสนอีก คือจริง ๆ ไม่ทำสุหนัตก็ไม่ผิด แต่การป้องกันแบบนี้ก็ไม่ผิดเช่นกัน
ทิโมธี ชื่อของเขาแปลว่า คนที่ให้เกียรติพระเจ้า … และต่อมาเราจะเห็นว่าทิโมธีเป็นผู้รับใช้ร่วมกับเปาโลที่มีความคิดเดียวใจเดียวกัน ดูฟิลิปปี……… 2 ทิโมธี 1:5 เขาเป็นลูกหลานคริสเตียน มีการเลี้ยงดูมาในทางของพระเจ้าเป็นอย่างดี
กิจการ 16:4-5
ต่อมาทั้งเปาโล สิลาสและทิโมธีก็ได้เดินทางไปเยี่ยมเยียน หนุนใจ สั่งสอนพี่น้อง โดยที่ท่านได้รับรองการตัดสินใจของผู้ปกครองในกรุงเยรูซาเล็ม (ในเรื่องความเชื่อของพี่น้องต่างชาติที่ไม่ต้องมารักษากฎบัญญัติของโมเสส)
คริสตจักรได้เชื่อฟังสิ่งที่บอก และพวกเขาเข้มแข็งขึ้น เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน มีคนเข้ามาพบพระเจ้า และเปลี่ยนชีวิตมากขึ้นทุกวัน

นิมิตเรื่องชาวมาซิโดเนีย
กิจการ 16:6-8
แล้วพระวิญญาณของพระเจ้าทรงนำพวกเขาไม่ให้ประกาศในแคว้นเอเชียอีกต่อไป
จึงเดินทางไปยังฟรีเจีย กาลาเทีย ..​พวกเขาเดินทางต่อไปมิเซีย และอยากไปต่อบิธิเนียด้านเหนือของแคว้นกาลาเทีย แต่พระเจ้าทรงห้ามเอาไว้ เปาโลกระวนกระวายว่านี่มันเรื่องอะไรกัน พวกเขาอยากที่จะไปให้ทั่ว ๆ ประกาศให้ทุกเมืองในแถบนั้น
กิจการ 16:9-10
แล้วคืนหนึ่งที่เมืองโตรอัส เปาโลก็เห็นนิมิตว่ามีชายคนหนึ่งขอร้องให้ไปมาซิโดเนียซึ่งต้องข้ามทะเลไปทางตะวันตก พระเจ้าทรงปิดทางหลาย ๆ ทางเพื่อให้ทั้งสามมุ่งหน้าไปอีกที่ ซึ่งพระองค์ทรงเตรียมไว้ เมื่อเข้าใจแบบนี้ เปาโลก็ไม่สงสัยอะไรอีก ทั้งสามเห็นพ้องต้องกัน
เมืองโตรอัสเป็นเมืองหน้าด่านของเอเชีย ที่ใกล้ชิดยุโรปมาก
กิจการ 16:11-13
นี่เป็นครั้งแรกที่พระกิตติคุณเข้าไปปลูกและเกิดผลในชายแดนยุโรป และเขาไปถึงเมืองเนอาโปลิส และไปต่อยังเมืองฟีลิปปี
แน่นอนที่เปาโลต้องการเข้าไปศาลาธรรม แต่ดูเหมือนไม่มีศาลาธรรมยิวในเมืองนั้น (เป็นธรรมเนียมในเมืองต่างชาติว่า จะต้องมีชายยิว 10 คนขึ้นไปจึงจะสร้างศาลาธรรมขึ้นมา) ที่เมืองนั้นพวกเขาไปนอกเมืองริมน้ำ ได้เจอพวกผู้หญิงที่มาชุมนุมกัน คนยิวที่อยู่ต่างประเทศมักจะออกไปอธิษฐานกับพระเจ้าริมน้ำ เหมือนในสดุดี 137:1
เอ.. ในนิมิตเห็นผู้ชาย แต่กลับมาเจอผู้หญิงที่มาชุมนุมกันอยู่ ทั้งสามต้องการไปอธิษฐานแต่กลับเจอโอกาสที่จะพูดเรื่องพระเยซู.. แม้โลกโบราณจะเป็นโลกที่ชายเป็นใหญ่ แต่เปาโลรู้อยู่แล้วว่า ในพระเจ้าทุกคนเท่ากัน ไม่มีกรีก ยิว ชายหรือหญิงที่จะโดดเด่นในสายพระเนตรของพระเจ้า
กิจการ 16:14-15
ลิเดียเป็นนักธุรกิจหญิงขายผ้าสีม่วง (เป็นผ้าที่บอกให้รู้ว่า ขายให้กับคนชั้นสูงของอาณาจักรโรม) ที่มาจากเมืองทิยาธิรา ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ เธอมาพร้อมกับคนในครอบครัวด้วย และพระเจ้าทรงเปิดใจของเธอ… ตรงนี้สำคัญ.. เปาโลกล่าวพระคำ ลิเดียตั้งใจฟัง และพระเจ้าทรงเปิดใจ เธอรับเชื่อและรับบัพติศมาริมน้ำนั้นทันที แล้วยังต้อนรับผู้รับใช้ของพระเจ้าให้พักที่บ้านด้วย โดยใช้คำที่สุภาพ น่าฟัง เธอวิงวอนจนขัดไม่ได้ นี่หมายความว่า เปาโล สิลาส ทิโมธีมีที่พักพร้อมที่จะออกประกาศต่อไปในเมืองนี้
คนแรกที่รับเชื่อพระเจ้าในฟีลิปปี จึงเป็นสตรีที่มีครอบครัวใหญ่.. ขอบคุณพระเจ้า
น่าสนใจว่า ลิเดีย เป็นคนที่ทำงานกับชนชั้นสูง และเธอเองมีบ้านของตนเอง เธอไม่ใช่ทาส แต่เป็นบ้านที่มีที่ทางพอที่จะรับแขกได้ด้วย
กิจการ 16:16-18
แล้วในวันหนึ่ง ทั้งสามเดินไปยังที่อธิษฐาน ก็ได้เจอกับทาสหญิงของกลุ่มหมอดู พวกหมอดูใช้เธอทำนายอนาคต และก็เก็บเงินจากผู้คน เธอรบกวนพวกเขาด้วยการพูดความจริง แต่เป็นความจริงที่ทำให้พวกเขาดูเหมือนเป็นพวกเดียวกับหมอดู ทำราวกับว่าซาตานช่วยโฆษณา ประกาศงานของพระเจ้าแทน นี่เป็นการพูดเรื่องพระเจ้าด้วยวิญญาณที่ต่อต้านพระองค์
กิจการ 16:18b-19
ก็ทนกันมาหลายวันจนกระทั่งเปาโลไม่ทนอีกต่อไป เปาโลหันไปไล่ผีออกจากเธอ และมันก็ออกทันที ไม่มีการต่อต้านใด ๆ ทำให้นางทาสผู้นี้กลายเป็นคนปกติ เราไม่ทราบว่า เธอได้มาเชื่อพระเจ้าหรือเปล่า แต่ที่แน่ ๆ คือ ไม่ได้มีฤทธิ์เหมือนเคย ไม่สามารถทำนายทายทักได้อย่างที่นายเคยใช้
ดังนั้น จะต้องกำจัดคนที่ทำให้ขาดรายได้! พวกเขาลากตัวเปาโลกับสิลาสออกมาที่ตลาด ให้ผู้นำของเมืองและชาวเมือง ได้เห็นว่า สองคนนี้เป็นตัวอันตราย

บาดแผลที่นำชีวิตใหม่
กิจการ 16:20-22
จากนั้นก็นำไปยังเจ้าหน้าที่ ฟ้องว่าทั้งสองเป็นยิวมาก่อความวุ่นวายในเมือง โดยที่มาชักชวนคนโรมให้นับถือ และรับธรรมเนียมที่ผิดกฎของโรม ซึ่งเป็นคำฟ้องเท็จ พอประชาชนได้ยินอย่างนั้นก็เข้ามารุมทำร้ายทั้งสอง
ชาวเมืองทำร้ายไม่พอ เจ้าหน้าที่สั่งถอดเสื้อ สั่งโบย โบยด้วยความโกรธที่พวกเขาตัดทางทำมาหากิน
กิจการ 16:23-24
หลังจากที่ถูกโบยอย่างทารุณ ก็สั่งเข้าคุก ห้องชั้นใน ใส่ขื่อที่เท้า .. แต่ดูเหมือนทั้งสองยังไม่สลบ
กิจการ 16:25-26
ราวเที่ยงคืน เปาโลและสิลาสกำลังอธิษฐาน ทั้งสองไม่ได้กระซิบพึมพัม แต่ส่งเสียงดังพอควรในความมืด ในความเงียบของคุก .. นักโทษคนอื่น ๆ ก็ฟังทั้งสองเพลิน ๆ อยู่ แล้วก็เกิดแผ่นดินไหวทันทีทันใด รากคุกสะเทือน
บทเพลงยามค่ำคืน ในเวลาที่เจ็บปวด ขณะที่ถูกจับ ถูกขัง … ยังมีเพลงสรรเสริญพระเจ้าจากความมืดมนของชีวิต นี่เป็นบทเรียนสำหรับพวกเรายามที่ต้องเผชิญกับความจนมุมในชีวิตเรา
กิจการ 16:26b-28
ประตูที่ปิดแน่นหนา ก็เปิดออก โซ่ตรวนแตกหักเป็นชิ้น ๆ นี่เป็นโอกาสที่นักโทษจะหนีออกจากคุก! ใครจะไม่หนีบ้าง หากเป็นอย่างนี้? คนที่เป็นทุกข์มากที่สุดคือพัศดี ถ้านักโทษหนี เขานี่แหละจะต้องรับผิดชอบ รับโทษทุกอย่าง แต่เปาโลรีบห้ามไว้ทัน อย่าทำร้ายชีวิตตนเอง …​เปาโลทราบดีว่า นี่เป็นเวลาของความรอดของชีวิตพัศดีคนนี้
กิจการ 16:29-32.
พัศดีเข้าไปตรวจในคุก ตัวสั่นด้วยความกลัวยิ่งนัก เขาถึงกับทรุดตัวลงต่อหน้าเปาโลและสิลาส ถามถึงความรอดว่า ทำอย่างไรจึงจะรอดจากบาปได้?.. ดูเหมือนเขาได้ยินสิ่งที่เปาโลอธิษฐาน หรือได้ข่าวเรื่องที่ประกาศในเมืองแล้ว และรู้เหตุผลของการถูกจับ
และเปาโลก็ตอบชัดเจนทันควันว่า ขอให้เชื่อวางใจพระเยซูจะรอดทั้งครอบครัวด้วย นี่คือเงื่อนไขได้การรับความรอดโดยไม่มีว่าต้องทำสิ่งโน้นสิ่งนี้ก่อน พระคุณของพระเยซูเท่านั้นที่ทำให้รอด
แล้วประกาศเรื่องราวของพระเยซูให้พัศดีพร้อมคนอื่น ๆ โดยไม่ต้องมีพิธีรีตรองใด ๆ
กิจการ 16:33
แล้วพัศดีก็พาเปาโล สิลาสไปล้างแผล เสร็จแล้วยังไม่ทันเช้า
ภายในเวลาเที่ยงคืนถึงเช้าก็มีครอบครัวใหม่ในฟิลิปปีกลับใจมาเชื่อพระเจ้า รับบัพติศมาด้วย
สิ่งที่เปาโลกล่าวก่อนหน้านี้ว่าครอบครัวจะได้รับความรอด ก็เกิดขึ้นจริง!
กิจการ 16:34-35
เรียกได้ว่าเสร็จภายในครึ่งคืน เปาโลกับสิลาสได้ไปเยี่ยมกินอาหารที่บ้านพัศดีด้วย จากนั้นก็ต้องกลับไปขังอย่างเดิม เช้าตรู่ ด้วยเหตุผลได้ไม่ได้บันทึกไว้ เจ้าหน้าที่ส่งคำสั่งมาให้ปล่อยเปาโลกับสิลาสไป …
กิจการ 16:36-37
ผู้ว่ายอมให้เปาโลกับสิลาสออกจากคุกได้ แต่เปาโลไม่ยอม เพราะว่าพวกเขาเฆี่ยนทั้งสองโดยยังไม่สอบสวน แล้วจะมาให้ออกไปง่าย ๆ ไม่ให้ใครรู้ได้อย่างไร ในเมื่อตัวเปาโลเองเป็นชาวโรม! พวกเขาต้องพาออกไปให้ใคร ๆ ได้เห็นเช่นกัน
มีกฎหมายที่จะทำโทษคนชาวโรมโดยไม่ไต่สวนก่อนไม่ได้.. ดังนั้น เท่ากับผู้ว่าการทำพลาดไปแล้ว
กิจการ 16:38-40
ในที่สุดมีการเจรจากันระหว่างสองฝ่าย ฝ่ายเมืองขอให้เปาโลออกไป ซึ่งมีการตกลงกัน เปาโลกับสิลาสกลับไปลาลิเดีย พวกเขาหนุนใจลิเดียและครอบครัว …
เปาโล สิลาส ทิโมธี และลูกา (ซึ่งเป็นผู้เขียน) ได้เข้ามาในฟีลิปปี เกิดผล สร้างกลุ่มคริสเตียน และเดินทางต่อไป (ออกจากเมืองไปกันสองคนคือ เปาโลและสิลาส)

พระคำเชื่อมโยง

1*  โรม 16:21; ฟีลิปปี 2:19; 1 เธสะโลนิกา 3:2,6,  2 ทิโมธี 1:5
2*  ฮีบรู 11:2; กิจการ 13:51; 16:40;  2 ทิโมธี 3:11,15 
3* กาลาเทีย 2:3; 5:6; 1 โครินธ์ 9:20
4* กิจการ 15:28-29; 11:30; 15:2,28
5* กิจการ 2:47; 9:31;
6* กิจการ 2:9; 18:23; 1 เปโตร 1:1
7* กิจการ 8:29; โรม 8:9; กาลาเทีย 4:6; ฟีลิปปี 1:19; 1 เปโตร 1:11
8* กิจการ 16:11; 20:5-6; 2 โครินธ์ 2:12; 2 ทิโมธี 4:13
9* กิจการ 9:10; 20:1,3; โรม 15:26
10* 2 โครินธ์ 2:12-13; กิจการ 27:1-28-16
12* กิจการ 20:6; ฟีลิปปี 1:1; 1 เธสะโลนิกา 2:2
13* กิจการ 13:14; โคโลสี 1:23


14* ลูกา 24:45; กิจการ 18:7; วิวรณ์ 1:11; เอเฟซัส 1:17-18
15* ฮีบรู 13:2; ปฐมกาล 19:3; ลูกา 24:29; กิจการ 11:14
16* เลวีนิติ 19:31; เฉลยธรรมบัญญัติ 18:11; 1 ซามูเอล 28:3,7
17* ยอห์น 14:6; 1 เปโตร 2:16; มาระโก 5:7
18*   มาระโก 16:17; ลูกา 10:17-19
19* กิจการ 8:3; 17:6-8; 19:25-26; 21:30; ยากอบ 2:6
20* ยากอบ 4:4; โรม 12:2
21* เอสเธอร์ 3:8; กิจการ 16:12
22* 2 โครินธ์ 6:5; 11:25; 1 เธสะโลนิกา 2:2
24* โยบ 13:27; 33:11; เยเรมีย์ 20:2-3; 29:26
25* 1 เธสะโลนิกา 5:16-18; ยากอบ 1:2
26* 1; กิจการ 4:31; 5:19; 12:7,10

27* กิจการ 12:19
28* 1 เธสะโลนิกา 5:15; ลูกา 23:34
29* วิวรณ์ 3:9; กิจการ 24:25
30* กิจการ 2:37; 22:10; 16:7
31* กิจการ 2:38-39; ยอห์น 3:36
32* 1 ทิโมธี 1:13-16; 1 เธสะโลนิกา 2:8
33* 1 โครินธ์ 1:16; กิจการ 16:15; 16:25
34* โรม 15:13; กิจการ2:46; 1 ยอห์น 3:18
35* กิจการ 5:40; เยเรมีย์ 5:22
36* กิจการ 15:33; ยอห์น 14:27; กิจการ 16:27
37* กิจการ 22:25-29; มัทธิว 10:16
38* กิจการ 22:29; มัทธิว 21:46
39* มัทธิว 8:34; มาระโก 5:17; มีคาห์ 7:9-10
40* 1 เธสะโลนิกา 3:2-3; กิจการ 4:23

1 โครินธ์ 7 ชีวิตสมรสและชีวิตโสด

คำตอบเรื่องความสัมพันธ์สามีภรรยา

1 โครินธ์ 7:1-2 ส่วนเรื่องที่ท่านเขียนมาว่า “การที่ผู้ชายจะไม่แตะต้องข้องแวะกับผู้หญิงก็ดีกว่า” แต่เพื่อป้องกันการทำผิดทางเพศผู้ชายแต่ละคนจึงควรมีภรรยาของตน และผู้หญิงแต่ละคนก็ควรมีสามีของตน

1 โครินธ์ 7:3-4 สามีควรทำหน้าที่ของตนต่อภรรยาอย่างสมควร ส่วนภรรยาก็ทำหน้าที่ต่อสามีอย่างสมควรเช่นกัน ร่างกายของภรรยาไม่ได้เป็นของเธอเพียงผู้เดียว แต่เป็นของสามีด้วย เช่นเดียวกัน ร่างกายของสามีไม่ได้เป็นของเขาคนเดียว แต่เป็นของภรรยาด้วย

1 โครินธ์ 7:5 อย่าปฏิเสธกันและกัน เว้นแต่ได้มีการตกลงกันชั่วคราว เพื่อมุ่งมั่นในการอธิษฐาน จากนั้นจึงมาอยู่ร่วมกันอีก
เพื่อซาตานไม่อาจจะล่อลวงท่านให้ทำผิดในช่วงเวลาที่ท่านควบคุมตนเองไม่ได้

คำตอบเรื่องการหย่าร้าง

1 โครินธ์ 7:6-7 ข้ากล่าวอย่างนี้ เพื่ออนุญาต แต่ไม่ใช่คำสั่ง
ข้าหวังให้ทุกคนเป็นเหมือนข้า แต่ทุกคนต่างได้รับของประทานจากพระเจ้าไม่เหมือนกัน คนหนึ่งได้อย่างนี้ อีกคนได้อย่างนั้น

1 โครินธ์ 7:8-9 ส่วนคนที่ยังโสด และคนที่เป็นม่าย ข้าขอกล่าวว่า เป็นการดีที่จะไม่แต่งงานเหมือนอย่างข้า แต่ถ้าพวกเขาไม่อาจควบคุมตนเองได้ก็ควรแต่งงานไป เพราะแต่งงานก็ดีกว่ามี
ใจรุ่มร้อนด้วยราคะตัณหา

1 โครินธ์ 7:10-11 สำหรับคนที่แต่งงานแล้ว ข้าขอสั่งว่าภรรยาจะต้องไม่แยกออกจากสามี (นี่เป็นคำบัญชาขององค์พระผู้เป็นเจ้า ไม่ใช่ข้าสั่ง)แต่ถ้าเธอจะแยกจากไป เธอต้องไม่แต่งงาน หรือมิฉะนั้นก็ต้องกลับมาคืนดีกับสามีของเธอ ส่วนสามีนั้น อย่าได้หย่าร้างจากภรรยาของตนเลย

1 โครินธ์ 7:12 ส่วนคนอื่น ๆ นอกจากนี้ ข้าขอบอกว่า ถ้าพี่น้องคนใดมีภรรยาซึ่งไม่เชื่อพระคริสต์ แต่เธอตั้งใจจะอยู่กับสามี เขาก็ต้องไม่หย่าร้างจากเธอ (นี่เป็นคำของข้าเอง ไม่ใช่องค์พระผู้เป็นเจ้า)

1 โครินธ์ 7:13-14 หากภรรยาคนใดมีสามีซึ่งไม่เชื่อ และเขาเต็มใจจะอยู่กับเธอ เธอต้องไม่หย่าร้างจากเขา เพราะสามีที่ไม่เชื่อได้รับการชำระให้บริสุทธิ์ผ่านภรรยา และภรรยาที่ไม่เชื่อได้รับการชำระให้บริสุทธิ์ผ่านสามีซึ่งมีความเชื่อ มิฉะนั้น ลูก ๆ จะเป็นมลทินแต่เท่าที่เป็นอย่างนี้เท่ากับลูก ๆก็บริสุทธิ์

1 โครินธ์ 7:15 แต่ถ้าคู่สมรสอีกฝ่ายที่ไม่เชื่อ แยกตัวออกไป ก็ปล่อยให้เขาไป แบบนี้ ฝ่ายที่เชื่อพระคริสต์ จะไม่มีข้อผูกมัดให้จำใจอยู่ด้วยกัน เพราะพระเจ้าทรงเรียกเราให้อยู่อย่างสงบสุข

1 โครินธ์ 7:16 ท่านผู้เป็นภรรยา ท่านจะรู้ได้อย่างไรว่าท่านช่วยให้สามีรอดบาปได้หรือไม่? ส่วนท่านที่เป็นสามี จะรู้ได้อย่างไรว่าท่านช่วยให้ภรรยารอดบาปได้หรือไม่?

ใช้ชีวิตตามที่พระเจ้าทรงเรียก

1 โครินธ์ 7:17 จะเป็นอย่างไรก็ตาม แต่ละคน ควรจะใช้ชีวิตของตนตามที่องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงกำหนดไว้ ตามที่พระองค์ทรงเรียก นี่คือกฎที่ข้าวางไว้สำหรับคริสตจักรทุกแห่ง

1 โครินธ์ 7:18 บุรุษคนใดที่พระเจ้าทรงเรียกเมื่อเขาเข้าสุหนัตแล้ว ก็ไม่ควรลบรอยการเข้าสุหนัต บุรุษคนใดที่พระเจ้าทรงเรียกเมื่อเขายังไม่ได้เข้าสุหนัต ก็ไม่ควรเข้าสุหนัต

1 โครินธ์ 7:19-20 การเข้าสุหนัตหรือไม่ มิใช่สิ่งสำคัญแต่สิ่งสำคัญคือ การปฏิบัติตามพระบัญญัติของพระเจ้า ทุกคนควรดำรงอยู่ในสภาพที่เป็นอยู่ในเวลาที่พระเจ้าทรงเรียก

1 โครินธ์ 7:21-22 พระเจ้าทรงเรียกท่านเมื่อยังเป็นทาสอยู่หรือ? ไม่ต้องกังวลใจไป แต่หากท่านเป็นไทได้ ก็ให้ทำเถิด
เพราะคนที่พระเจ้าทรงเรียก แม้ว่าจะเป็นทาส แต่เขาก็เป็นผู้มีเสรีภาพในพระคริสต์ คนที่พระเจ้าทรงเรียกในขณะที่เป็นไท เขาก็เป็นทาสของพระคริสต์

1 โครินธ์ 7:23-24 พระเจ้าทรงซื้อท่านมาด้วยราคาสูง ฉะนั้น อย่าเป็นทาสของมนุษย์พี่น้องทั้งชายและหญิง ไม่ว่าพระเจ้าทรงเรียกท่านเมื่อท่านอยู่ในฐานะอะไรก็ขอให้ท่านคงอยู่ในฐานะอย่างนั้น

สำหรับคนโสดและคนเป็นม่าย

1 โครินธ์ 7:25-26 ส่วนเรื่องเกี่ยวกับคนที่ไม่ได้แต่งงานนั้น
ข้าไม่ได้รับคำบัญชาจากองค์พระผู้เป็นเจ้าแต่ข้าขอออกความเห็น ในฐานะที่เป็นคนที่ได้รับพระเมตตาของพระเจ้าให้เป็นคนที่ไว้ใจได้ เนื่องจากเหตุการณ์วิกฤตในขณะนี้ ข้ามีความเห็นว่าท่านอยู่อย่างที่เป็นอยู่นี้ก็ดีอยู่แล้ว

1 โครินธ์ 7:27-28 ท่านที่แต่งงานแล้ว ก็ไม่ต้องหาทางที่จะหย่าร้าง ท่านไม่ได้แต่งงาน ก็ไม่ต้องพยายามหาคู่ แต่หากท่านจะแต่งงาน
ก็ไม่ถือว่าบาป เพราะสาวพรหมจารีจะแต่งงานก็ไม่บาป เรื่องของเรื่องคือคนที่มีครอบครัวก็จะต้องเจอกับความยุ่งยากในชีวิตนี้ และข้าพยายามช่วยให้ท่านไม่ต้องไปเจอปัญหาดังกล่าว 

คำอธิบายเพิ่มเติม

ความสัมพันธ์สามีภรรยา
1 โครินธ์ 7:1-2 

ท่านเปาโลกำลังตอบจดหมายของพี่น้องคำกรีกที่ว่าแตะต้องมีความหมายไปถึงการมีเพศสัมพันธ์ยิ่งกว่านั้นยังหมายความรวมไปถึงการใช้ร่างกายของผู้หญิงสนองราคะของตน (ถ้าประเมินจากปัญหาที่เขาเจอ น่าจะมีความหมายถึงทั้งร่างชายและหญิง) และเพื่อไม่ให้มีปัญหานี้ การแต่งงานมีคู่ของตน จะเป็นสิ่งดีที่สุด ความเชื่อในเรื่องการแต่งงาน มีคู่หนึ่งเดียวตลอดชีวิตจึงเป็นสิ่งที่เป็นพื้นฐานสำคัญในความเชื่อคริสเตียน

1 โครินธ์ 7:3-4
ตอนนี้ท่านเปาโลได้บอกว่า สิ่งที่จะช่วยให้ไม่มีปัญหาในเรื่องความสัมพันธ์คือ ทั้งสองฝ่ายต้องยอมกันและกัน พวกเขาต่างมีหน้าที่ในชีวิตสมรสต่างเป็นของกันและกัน เรื่องการที่สามีภรรยาต่างมีสิทธิเหนือร่างของอีกฝ่ายนั้น เป็นแนวคิดที่
เปลี่ยนสังคมโบราณ เพราะในโลกเก่านั้น สามีเป็นใหญ่เหนือร่างภรรยา แต่ตรงนี้กลับบอกว่าทั้งสองฝ่ายมีหน้าที่มีสิทธิต่อกันและกันท่านเปาโลกำลังเปลี่ยนโลกทัศน์ เห็นชัด ๆ

1 โครินธ์ 7:5
ความเห็นของพี่น้องชาวโครินธ์นั้น ก็สุดขั้วอย่างที่พวกเขาได้เขียนจดหมายมาหาท่านเปาโล ในข้อที่หนึ่ง เรื่องนี้ท่านเปาโลมองเห็นว่า สามีภรรยาจะต้องไม่หลีกเลี่ยงที่จะมีความสัมพันธ์ลึกซึ้งยกเว้นมีเหตุการณ์ที่ต้องอธิษฐานหรือแต่ก็ต้องกลับมาอยู่ด้วยกันอีกเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาผิดทางเพศกับคนอื่น สิ่งที่ท่านเปาโลเป็นห่วงคือ พวกเขาถูกล่อลวงง่าย
พวกเขาจึงควรฟังและเชื่อฟังสิ่งที่ท่านเปาโลเตือน

คำตอบเรื่องการหย่าร้าง

1 โครินธ์ 7:6-7
หลังจากที่พูดเรื่องสามี ภรรยา ตอนนี้ ท่านเปาโลกับพลิกความคิดให้คนเข้าใจว่า การอยู่ในโลกไม่ใช่เป็นเรื่องของการหาคู่ อย่างที่สังคมกำลังบอกว่า มนุษย์ทุกคนต้องหาคู่ ท่านมองว่า แต่ละคนมีของประทานจากพระเจ้าแตกต่างกัน
บางคนเหมาะกับชีวิตคู่ บางคนเหมาะกับการอยู่คนเดียว แต่ละคนจะได้ตามที่เหมาะกับตนเองไม่ต้องไปพยายามเค้นว่าจะต้องได้แบบเดียวกัน 

1 โครินธ์ 7:8-9
เรื่องที่ท่านเปาโลเตือนนี้ มีพื้นฐานอยู่ที่ว่า แต่ละคนได้รับของประทานจากพระเจ้าแตกต่างกันไปเราเห็นคนที่เหมาะกับการเป็นโสด เห็นคนที่เหมาะกับการแต่งงาน และในชีวิตจริงก็มีคนที่เป็นโสดทั้ง ๆ ที่อยากแต่งงาน และคนที่แต่งงานไปแล้ว แต่อยากเป็นโสดเหลือเกิน แต่หากใครคนหนึ่งมีใจเร่าร้อนมาก ก็ควรแต่งงานไปไม่ทำให้คนรอบข้างเขาต้องมาแปดเปื้อนตามราคะของเขา

1 โครินธ์ 7:10-11
สิ่งที่ท่านเปาโลสั่งไว้ คือ เมื่อแต่งงานแล้วไม่ให้แยกทางกัน ท่านเตือนทั้งหญิงและชาย เพราะท่านรู้ดีว่า ชีวิตคู่นั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย และถ้าเรามองไปรอบ ๆ ในสังคมทั้งโลก เราจะเห็นว่า ชีวิตคู่มีปัญหามากกว่า แก้ไขได้ก็ดีไป แต่ที่แก้ไขไม่ได้ก็เลิกกัน ในชีวิตสมรสของผู้เชื่อมีหลักชัดว่าไม่ควรที่จะหย่าร้าง แต่จะแยกจากไปก็ได้ เพื่อจะมีโอกาสกลับมาคืนดีกัน

1 โครินธ์ 7:12
ท่านเปาโลได้สอนไว้ว่าไม่ให้เทียมแอกกับผู้ที่ไม่เชื่อแต่ในกรณีนี้ ดูเหมือนเป็นเรื่องว่า ทั้งสองเคยไม่เชื่อมาก่อน แล้วมีคนหนึ่งมาเชื่อ ทั้งสองก็ยังคงอยู่ด้วยกันต่อไปได้ อย่างสงบสุข ท่านเปาโลรู้ว่าท่านเองเป็นผู้ที่มีพระวิญญาณของพระเจ้า ดังนั้น การตัดสินใจที่จะวางกฎให้ปฏิบัตินั้น ท่านได้รับสติปัญญาจากพระเจ้า (ดูข้อ 40) ให้ท่านได้วางแบบอย่างไว้เช่นนี้ เพราะในข้อต่อไปเราจะเห็นความล้ำลึกของชีวิตแต่งงานที่มีมากนี้อีก

1 โครินธ์ 7:13-14
นี่คือความล้ำลึกที่เราคาดไม่ถึง การมีชีวิตคู่กับคนที่เชื่อพระเจ้า มีผลต่อลูก และต่อคู่สมรส พระเจ้าทรงชำระครอบครัว คู่สมรส ลูก ๆ ให้บริสุทธิ์ คือพวกเขาจะได้รับรู้ข่าวประเสริฐว่า ได้เปลี่ยนแปลงชีวิตของคนในครอบครัวที่ได้มาเชื่ออย่างไร ลูก ๆได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่พระเจ้าทรงเปลี่ยนอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ ชีวิตคู่ ช่วยให้การเป็นพยานถึงฤทธิ์เดชของพระเจ้าชัดเจนมาก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกครอบครัวจะไม่เกิดการข่มเหง

1 โครินธ์ 7:15
ท่านเปาโลเห็นว่า ครอบครัวควรอยู่ต่อไปด้วยกัน แต่หากคู่สมรสที่ไม่เชื่อต้องการแยกตัวออกไป (เพราะเข้ากันไม่ได้เรื่องความเชื่อ)
ก็ต้องปล่อยไปเพื่อความสงบ ในแต่ละครอบครัวมีความสัมพันธ์ที่ไม่เหมือนกัน มีความซับซ้อนไม่เหมือนกัน หากคนที่เชื่อเป็นภรรยา แล้วสามีขอแยกไป เธอก็จะไม่มีใครเลี้ยงดู หากคนที่เชื่อเป็นสามี ภรรยาขอแยกตัวไป ใครจะเป็นผู้ดูแลลูก ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่ต้องคิดให้ดี

ใช้ชีวิตตามที่พระเจ้าทรงเรียก
1 โครินธ์ 7:16-17

ท่านเปาโลกล่าวถึงเรื่องนี้โดยมีความหวังใจมาก ๆ ว่า คู่สมรสที่เชื่อในพระเจ้าอาจจะนำอีกฝ่ายให้มาพบพระเจ้าได้ นั่นเป็นสิ่งที่ท่านหวังมากที่สุด เพื่อให้ทั้งสองมีกฎเกณฑ์การใช้ชีวิตมุมมองโลกเหมือนกัน ไปด้วยกัน รับใช้พระเจ้าด้วยกัน เป็นพระพรต่อคนรอบข้างต่อไป เพราะเราแต่ละคนไม่รู้ว่า พระเจ้าจะทรงเมตตาพวกเขาอย่างไร

1 โครินธ์ 7:18
ท่านเปาโลได้สอนให้ทุกคนได้ใช้ชีวิตตามที่พระเจ้าทรงเรียก ไม่ต้องเพิ่มเติมสิ่งใดเข้าไปกับความเชื่อในพระเจ้า การที่ท่านใช้เรื่องนี้เป็นตัวอย่างน่าจะเป็นเพราะเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันในหมู่ผู้เชื่อใหม่ และคนที่เชื่อมาก่อนมีความเชื่อหลายอย่างที่ทำให้พี่น้องสับสน ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิม ศาสนายิว ความคิดสร้างสรรค์ที่ผิดกับพระประสงค์ของพระเจ้า ท่านเปาโลจึงต้องกล่าวย้ำให้ชัดเจน

1 โครินธ์ 7:19-20
ตอนที่ท่านเปาโลเขียนจดหมายถึงพี่น้องในคริสตจักรกาลาเทียนั้น ท่านได้กล่าวเรื่องนี้ย้ำแล้วย้ำอีกว่า การมาเชื่อพระเจ้าไม่ใช่การมาเข้าพิธีสุหนัต การทำพิธีนี้ไม่ได้ทำให้คนหนึ่งดีขึ้นหรือได้ความโปรดปรานจากพระเจ้า เพราะการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูคริสต์ ได้ล้างบาปพวกเขาแล้ว ไม่ใช่พิธีกรรมต่าง ๆ ดั้งเดิม หรือพิธีใหม่ ๆ ที่มนุษย์พากันคิดขึ้นมา

1 โครินธ์ 7:21-22
นอกจากเอาเรื่องของการเข้าสุหนัตมาเป็นตัวอย่างแล้ว ท่านยังได้เอาเรื่องสถานภาพของแต่ละคนเมื่อเขามาเชื่อในพระเจ้าด้วย ไม่ให้เป็นปัญหา แต่หากเรามีโอกาสทำให้ชีวิตของเราดีขึ้น ก็ให้ทำเพื่อถวายพระเกียรติแด่พระเจ้า ดังนั้น ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะใด พระเจ้าทรงรับ ทรงเรียก การมองจากพระเจ้าเป็นสิ่งสำคัญยิ่งกว่าสถานภาพที่เราเป็นอยู่ คนในโลกนี้จึงได้เข้ามาหาพระเจ้าอย่าง
อิสระ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ สถานภาพ ฐานะ

1 โครินธ์ 7:23-24

เราทุกคนที่ถูกเรียกมา เป็นทาสของพระคริสต์อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม อาจเป็นผู้นำหัวหน้าหมู่บ้าน เป็นนายอำเภอ นักธุรกิจ แต่ละคนเข้ามาเป็นผู้รับใช้ของพระคริสต์ ที่จะต้องรับใช้คนรอบข้างของเขา ไม่ได้เข้ามาเชื่อแล้วเป็นนายตรงนี้ชัดเจนมากในการดำเนินชีวิตใหม่ของผู้เชื่อการที่ท่านบอกว่า เราอยู่ในฐานะอะไร พระเจ้าก็ทรงรับเราในฐานะนั้น แล้วคนโสดกับคนที่สมรสแล้วล่ะ? เราจะดูกันต่อไป

สำหรับคนโสดและคนเป็นม่าย
1 โครินธ์ 7:25-26
เนื่องจากองค์พระเยซูคริสต์ไม่ได้ทรงสอนเรื่องนี้ท่านเปาโลมองว่า ในฐานะที่ท่านเป็นคนที่พระเจ้าทรงเลือก และไว้ใจได้ ท่านจึงออกความเห็นของท่านเองว่า ถ้าจะเป็นโสดก็ดีแล้ว “วิกฤติ” น่าจะหมายถึงการที่ทุกคนอยู่ในยุคสุดท้ายแต่ในชีวิตจริงผู้คนก็ยังมีครอบครัว มีลูกหลานเพิ่มพูน ชายหญิงก็ยังมีความรักที่จะสร้างชีวิตด้วยกัน ส่วนท่านเปาโลเป็นห่วงเรื่องมุ่งมั่นรับใช้และมองเห็นว่าชีวิตแต่งงานก็มีเรื่องให้วุ่นเยอะ

1 โครินธ์ 7:27-28
จากข้อที่แล้ว และข้อนี้ จะเห็นได้ชัดว่าตัวท่านเปาโลสนใจที่จะรับใช้ชักชวนให้คนอยู่เป็นโสดเหมือนที่ท่านเป็นอยู่ คำพูดของท่านตอนนี้เป็นเรื่องตรงข้ามกับสิ่งที่ชาวโครินธ์นิยม การมีครอบครัวเป็นสิ่งที่คนยอมรับกันมากกว่าชีวิตที่เป็นโสด ความเห็นของท่านน่าจะทำให้เกิดความฮือฮาขึ้นในคริสตจักรโครินธ์ไม่น้อย แต่แล้วถ้ามองในอีกมุมท่านกำลังทำให้คนที่เป็นโสดไม่รู้สึกต่ำต้อยไปกว่า
คนอื่น เพราะชีวิตโสดเป็นที่รับได้ในสายตาของท่าน

ข้อพระคำเชื่อมโยง

1* 1 โครินธ์ 7: 8,26-27, 37-38; มัทธิว 19:10-11
2* เอเฟซัส 5:28; สุภาษิต 5:18-19
3* 1 เปโตร 3:7; อพยพ 21:10
4* มัทธิว 19:9; โฮเชยา 3:3; มาระโก 10:11-12
5* โยเอล 2:16; อพยพ 19:15; เศคาริยาห์ 12:12-14
6* 2 โครินธ์ 8:8; 7:25, 12, 11:17
7* มัทธิว 19:11-12; 1โครินธ์ 9:5, 12:4
8* 1 โครินธ์ 7:32,34-35;
9* 1 ทิโมธี 5:14;5:11; 1 โครินธ์7:2,28,29,36

10* มัทธิว 5:32; ลูกา 16:18; มาลาคี 2:14-16
11* 1 โครินธ์ 7:10; เยเรมีย์ 3:1 อิสยาห์ 50:1
12* 2โครินธ์ 11:17
14* มาลาคี 2:15-16; ทิตัส 1:15; 1 ทิโมธี 4:5
15* โรม 14:19; 2 โครินธ์ 13:11; ยากอบ 3:17-18
16* 1 เปโตร 3:1-2; 1 โครินธ์ 9:22; โรม 11:14
17* 1 โครินธ์ 4:17; 7:24; โรม 12:3-8
18* กิจการ 15:5; 15:28; 15:24

19* กาลาเทีย 6:15; 5:6
20* 1 โครินธ์ 7:17
21* โคโลสี 3:11; 1 เปโตร 2:18-24
22* 1 เปโตร 2:16; ฟิเลโมน 1:16
23* 1 เปโตร 1:18-19; ทิตัส 2:14
24* โคโลสี 3:23-24
26* 1 โครินธ์ 7:8
27* 1 โครินธ์ 7:20
28* 1 โครินธ์ 7:32-36; ฮีบรู 13:4

กิจการ 15 พระคุณที่ถูกคุกคาม


ความขัดแย้งที่กลายเป็นโอกาส

คำอธิบายเพิ่มเติม

พระคุณที่ถูกคุกคาม
กิจการ 15:1-2
แล้วก็เกิดเรื่องที่ไม่น่าเกิด มีคนมาบอกพี่น้องว่า ถ้าจะมาเชื่อพระเยซู จะรับความรอดก็ให้เข้าสุหนัตตามบัญญัติของโมเสส นี่ทำให้เปาโลถึงโกรธมาก .. การมาเชื่อคือเชื่อในฤทธิ์แห่งไม้กางเขน การสิ้นพระชนม์ของพระเยซูจึงจะรอด ไม่ใช่ต้องทำตามกฎของยิวที่มีมาก่อน หรือทำดีเพื่อได้รับความรอด แต่ในเมื่อทั้งสองเถียงกันไม่จบ จึงตกลงว่าจะต้องให้เปาโลกับบารนาบัสไปปรึกษากลุ่มอัครทูต และผู้ปกครองที่อยู่ในเยรูซาเล็ม ทำให้เราเห็นว่า บางเรื่องในคริสตจักรก็ต้องมีการคุยกันเพื่อแก้ปัญหาด้วย (เปาโลได้เขียนอย่างชัดเจนในเอเฟซัส 2:8-9.. ความรอดเป็นของประทานจากพระเจ้าให้กับผู้ที่เชื่อ ไม่ใช่ด้วยการประพฤติ)
กิจการ 15:3-5
แต่พอมาถึงเยรูซาเล็ม กลับมีคนที่เห็นด้วยกับฟาริสี เพราะพวกเขายังติดกรอบความคิดเดิม ว่าต้องทำดีมาก ๆต้องให้เป็นที่พอพระทัยด้วยความดีต่าง ๆ แต่ด้วยพระปัญญาของพระเจ้า กรอบความคิดนั้น ใช้ไม่ได้เลย เนื่องจากว่า ไม่มีใครเป็นคนดีได้เต็มร้อย เรื่องนี้ฟาริสีไม่เข้าใจ บางทีพวกเราคนไทยก็เหมือนกัน เพราะเราคิดว่าทำบุญมาก ๆ ทำดีมาก ๆ มันก็น่าจะเป็นทางให้เราไปสู่สิ่งที่ดีนี่นา
กิจการ 15:6-8
รื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก คนจะรอดได้ด้วยความดีของตนเองอย่างนั้นหรือ? ถ้าอย่างนั้นการสิ้นพระชนม์ขององค์พระเยซูเจ้าจะมีประโยชน์อันใด? ทำไมพระเจ้าต้องส่งพระบุตรลงมา? ดังนั้นพวกเขาจึงต้องประชุมกันอย่างเคร่งเครียด และเปโตรที่พวกเขาคุ้นเคย ก็ได้ลุกขึ้นมาอธิบาย ว่าตัวเขาเองก็ได้เห็นว่า พระเจ้าทรงเทพระวิญญาณมาเหนือคนต่างชาติทั้ง ๆ ที่พวกเขาไม่ได้เข้าสุหนัต พระองค์ทรงมองเห็นจิตใจที่มีความเชื่อ หากพระเจ้าทรงยอมรับ แล้วทำไมเราจึงจะมาใช้กฎบังคับพวกเขากัน
กิจการ 15:9-11
เปโตรอธิบายชัดเจนว่า พระเจ้าทรงชำระ ไม่แยกยิวแยกต่างชาติอีกต่อไป และทุกคนต้องรอดด้วยพระคุณของพระเจ้า เปโตรยังไม่ลืมนิมิตที่เขาเห็นบนหลังคาบ้าน การชำระชีวิตนั้นเกิดเพราะพวกเขาเชื่อก่อน…
เปโตรชัดเจนมากที่จะบอกว่า กฎต่าง ๆ ของยิวนั้น เยอะเกินที่ใครจะรักษาได้ ดังนั้น ไม่ควรเอากฎใด ๆ มาบังคับความเชื่อของผู้อื่น
เหตุการณ์ครั้งนี้ สำคัญมาก ที่จะช่วยให้เราไม่หลงกลคนที่มาบอกว่าต้องถวายเงินเยอะ ๆ ต้องทำดีมาก ๆ ต้องอย่างนั้น อย่างนี้ … เพราะว่าในโลกของเรามีคนหลอกลวงมากมาย หลอกเอาอำนาจ เอาเงินของพี่น้อง
กิจการ 15:12-14
ทุกคนนิ่ง และฟังเหตุผลจากคำกล่าวของเปาโลและบารนาบัส หลักฐานที่เกิดขึ้นจริง พวกเขาไม่ได้พยายามสู้ตามความคิด แต่มีการฟังซึ่งกันและกัน
แล้วยากอบซึ่งเป็นน้องของพระเยซู(ผู้เขียนหนังสือยากอบ และเป็นหนึ่งในผู้นำคริสตจักรยุคแรก) จึงลุกขึ้นมาอธิบายย้ำอีกครั้ง ตอนนี้เราเห็นแล้วว่า อัครทูต ผู้ใหญ่ในเยรูซาเล็มมีความเข้าใจชัดว่า พระเจ้าทรงประสงค์สิ่งใด
กิจการ 15:15-19
ยากอบได้อธิบายโยงไปถึงพระคัมภีร์เดิมคือ อาโมส 9:11-12 พระเจ้าทรงกล่าวถึงคนอิสราเอลที่ยังหลงเหลือกับ คนชาติต่าง ๆ ที่ได้รับเรียกว่าเป็นคนของพระองค์ แสดงว่าพระเจ้าทรงมีพระทัยเผื่อคนต่างชาติมานานแล้ว ไม่ใช่จะให้แค่คนยิวได้รับพระพร ดังนั้น ท่านยากอบเห็นว่า ไม่ควรเอาบัญญัติยิวมาเป็นเครื่องกีดขวางความเชื่อของคนต่างชาติ
พอมาถึงตรงนี้ ทุกคนที่อยู่ในที่ประชุมน่าจะตระหนักถึงสิ่งที่พวกเขาเองหลายคนไม่เคยคิดมาก่อน แต่ก็ต้องยอมรับเพราะยากอบอ้างถึงพระคัมภีร์เดิมที่พวกเขาเชื่อถือ
กิจการ 15:20-21
ยากอบจึงสรุปเลยว่า สิ่งที่ควรทำต่อคนต่างชาติที่มาเชื่อก็คือ ช่วยให้พวกเขาไม่ทำบาปที่เคยทำเป็นกิจวัตรตอนที่ยังไม่เชื่อโดยเฉพาะอย่างยิ่งบาปที่เกี่ยวข้องกับรูปเคารพ พวกเขาต้องเข้าใจว่า เมื่อบังเกิดใหม่แล้ว ชีวิตเปลี่ยนแปลงอย่างไร
กิจการ 15:22-23a
ดังนั้น พี่น้องจึงต้องการคนที่จะอธิบายให้เข้าใจ สงสัยอะไรก็ถามได้ ดังนั้น จึงตั้งยูดาส และสิลาสไปกับเปาโลและบารนาบัส พร้อมกับจดหมายที่เขียนลงเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อจะได้อ่านกันชัดเจนว่าได้ตกลงกันอย่างไร
กิจการ 15: 23b-29
อันทิโอกทางใต้เป็นเมืองสำคัญของแคว้นซีเรียและซิลิเซีย แต่อยู่ภายใต้การปกครองของโรม เราจะเห็นจากจดหมายถึงความสัมพันธ์ของพี่น้องต่างเมือง และการช่วยเหลือฝ่ายวิญญาณที่มีต่อกัน
คนที่พยายามให้พี่น้องอันทิโอกแล้วก่อให้เกิดความสับสนในความเชื่อ ไม่ได้มาจากเยรูซาเล็มแน่นอน แต่เป็นคนอื่น มาจากที่อื่น คริสตจักรในเยรูซาเล็มมีความชัดเจนในเรื่องความเชื่อและช่วยให้พี่น้องที่ยังอ่อนความเชื่อได้ทำในสิ่งที่ถูกต้อง พวกเขาได้ยึดมั่นในองค์พระวิญญาณในการเขียนจดหมายนี้ ไม่ได้คิดเองเออเอง แต่โดยการทรงนำ และการปรึกษากับพี่น้องที่เติบโตในความเชื่อ
กิจการ 15:30-35
เป็นอันว่า ความสับสนจากคนที่พยายามให้พี่น้องเชื่อผิด ได้รับการแก้ไข เป็นเรื่องราวดี ๆ ที่เกิดขึ้นในหมู่ผู้เชื่อต่างเมือง และแทนที่จะรีบกลับ ก็มีการหนุนใจอยู่อีกหลายวัน ในที่สุด ยูดาสและสิลาสก็จากไป แต่เปาโลกับบารนาบัสก็อยู่ต่อเพื่อช่วยให้พี่น้องเติบโต

ความขัดแย้งที่กลายเป็นโอกาส
กิจการ 15:36-39a

เปาโลชวนบารนาบัสเดินทางกลับไปเยี่ยมเมืองต่าง ๆ ที่เคยประกาศ และสร้างคริสตจักรไว้ แม้บารนาบัสขอให้เขายอห์น มาระโกไปด้วย ท่านเปาโลก็ไม่เห็นด้วย เพราะยอห์นเคยทิ้งพวกเขาไปก่อนหน้านี้ แต่ในเมื่อตกลงกันไม่ได้ จึงต้องแยกทางกัน เราไม่ทราบว่าทั้งสองโกรธกันมากหรือเปล่า แต่ดูเหมือนว่าความขัดแย้งครั้งนี้ จะทำให้กลายเป็นคนสองกลุ่มที่ออกไปสองทิศเพื่อประกาศพระนาม
กิจการ 15:39b-41
เป็นอันว่า บารนาบัสไปกับยอห์นมาระโก และเปาโลไปกับสิลาส พวกเขาได้รับพรจากพี่น้องในอันทิโอก (สิลาสน่าจะกลับมาอีกครั้ง) ทั้งสี่ได้มีโอกาสไปหนุนใจพี่น้องอีกมากมาย เปาโลกับสิลาสเดินทางบกไปทางเหนือ เพื่อเยี่ยมพี่น้องที่เคยพบกันมาก่อน ส่วนบารนาบัสกับยอห์นมาระโกลงเรือไปไซปรัส …ต่อมาเปาโลเองก็ได้ชื่นชมบารนาบัส (1 โครินธ์ 9:6) และยอห์นมาระโก (โคโลสี 4:10) แสดงว่า ความขัดแย้งครั้งนั้นไม่ได้ทำให้เกิดความขมขื่นแต่อย่าง
ใด

ข้อพระคำเชื่อมโยง

1* กาลาเทีย 5:6; เลวีนิติ 12:3
2*กิจการ 15:22-23; กาลาเทีย 2:1-2
3* กิจการ 14:27; 21:5
4* กิจการ 14:27; 21:7; 3 ยอห์น 1:8-10
5* กาลาเทีย 5:1-3
6* สุภาษิต 15:22; ฮีบรู 13:17
7* โรม 10:17-18; กาลาเทีย 2:7-9
8* กิจการ 1:24; 10:47
9* เอเฟซัส 3:6; กิจการ 10:28;
โคโลสี 3:11
10* มัทธิว 23:4; กาลาเทีย 5:1,4:9

11* โรม 3:24; ทิตัส 3:4-7
12* กิจการ 14:27; 15:4
13* กิจการ 12:17; ยากอบ 1:19
14* 1 เปโตร 2:9-10
15* โรม 15:8-12
16* อาโมส 9:11-12; ลูกา 1:31-33
17* เศคาริยาห์ 2:11; 8:20-23; อิสยาห์ 65:1
18*เอเฟซัส 3:9; 1:4
19* 1 เธสะโลนิกา 1:9
20*วิวรณ์ 2:20; 2:14; เลวีนิติ 3:17
21* กิจการ 13:15,27

24*ทิตัส 1:10-11; กาลาเทีย 1:7; 5:10
26* กิจการ 13:50; 14:19
29* กิจการ 15:20, 21:25; เลวีนิติ 17:14; โคโลสี 3:5
32* เอเฟซัส 4:11; กิจการ 14:22; 18:23
33*ฮีบรู 11:31
35* กิจการ 13:1
37* กิจการ 12:12;25
38* กิจการ 13:13
39* กิจการ 4:36; 13:4
40* กิจการ 11:23; 14:26
41* กิจการ 16:5